เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.........จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม 4 ด้าน คือ.......ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา ค้นคว้า.......ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ.......ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคมผลกระทบประการ สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด การตัดสินใจ และประหยัดเวลา........เมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้นบทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.........การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2542).......1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย........2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม.........3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์........4) ........บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่าย ....พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปโดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนสัมพันธ์หรือเอื้อต่อการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา..........การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจัดว่าเป็นการศึกษาที่สำคัญสูงสุดในการเตรียมนิสิตให้มีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยปัญญา การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบ จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นระดับมหาบัณฑิตทั้งแผน ก และแผน ข หรือระดับดุษฎีบัณฑิตทั้งแบบ 1 และแบบ 2 มีข้อกำหนดให้นิสิตต้องทำการวิจัยที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม โดยอาจทำในรูปวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในลักษณะโครงการวิจัยขนาดเล็ก นอกจากจะวัดจากตัวมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตแล้ว ยังต้องวัดจากคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการของวิทยานิพนธ์หรือรายงาน/โครงการวิจัยที่นิสิตนักศึกษาได้จัดทำตามข้อกำหนดของหลักสูตรด้วย (สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2546)........การที่จะให้นิสิตนักศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาได้นั้น นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้า สร้าง และพัฒนางานวิจัยหรือรายงาน/โครงการวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้และติดตามความ ก้าวหน้าในองค์ความรู้ของต่างประเทศ ดังนั้นนิสิตจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา เช่น การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอภิมหาขุมทรัพย์ทางปัญญาคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์รวมของข้อมูลทุกสาขาจากทั่วทุกมุมโลก และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่สำคัญคือนิสิตจะต้องมีทักษะในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ การวิจัยและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนิสิตจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง........การที่จะให้การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ถูกต้อง รวดเร็ว นิสิตจึงควรรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย และเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง นิสิตจำเป็นต้องมีทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งคือทักษะการนำเสนอ....4.1 การสืบค้นข้อมูลและการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต...........4.1.1 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะข้อมูลที่มีให้บริการอยู่ในระบบ World Wide Web ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หากทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซด์ใด นิสิตนักศึกษาสามารถเปิดเว็บไซด์นั้นได้ทันที เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาสามารถค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้.......................http://www.moe.go.th/ กระทรวงศึกษาธิการ.......................http://www.onec.go.th/ สกศ........................http://www.nu.ac.th/ สำนักหอสมุด/ศูนย์วิทยบริการต่าง ๆ.......................http://www.tiac.or.th/ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย........แต่เนื่องจากข้อมูลในระบบ World Wide Web มีอยู่มากมาย จึงเป็นเรื่องยากที่จะทราบได้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด เครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้นั้น เรียกว่า Search Engine และปัจจุบันนี้ก็มี Search Engines ให้เลือกใช้บริการมากมาย ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น
http://www.thaifind.com/http://www.ixquick.com/http://www.thaiseek.com/http://www.yahoo.com%20/http://www.thaiall.com/http://www.lycos.com/http://www.thainame.net/main.htmlhttp://www.netfind2.aol.com/http://www.sanook.com/http://www.excite.com/http://www.google.com/http://www.altavista.com/http://www.aromdee.com/http://www.freestation.com/........Search Engines ที่ได้รับความนิยมใช้กันมาก ได้แก่ yahoo, AttaVista, Infoseek, Excite และ Sanook เป็นต้น Search Engines เป็นเครื่องมือสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการสืบค้นข้อมูล เพื่อค้นหา สร้าง และพัฒนางานวิจัย รายงาน หรือโครงการวิจัย ดังนั้นนิสิตนักศึกษาบัณฑิตศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ ดังกล่าว..........4.1.2 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทและมีความสำคัญเพิ่มขึ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันทั่วทุกมุมโลกทำได้ง่ายเพียงแค่ ปลายนิ้วสัมผัส นิสิตนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอน เพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิได้อย่างทั่วถึงทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว หรือเพื่อประโยชน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบการวิจัย โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อี-เมล์ (E-mail)อี-เมล์ เป็นบริการหลักที่ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่นิยมกันมากที่สุด เนื่องจากสามารถพิมพ์ข้อความและส่งจดหมายหรือแนบไฟล์ไปพร้อมกับจดหมายผ่านเครือข่ายไปยังบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ห่างไกลถึงคนละซีกโลกได้ภายในวันเวลาเพียงไม่กี่วินาที จากความสะดวก รวดเร็ว ความประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของอี-เมล์ ทำให้มีการประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ คนทั่วโลกรับ-ส่งอีเมล์กันเป็นจำนวนหลายพันล้านฉบับ..........สิ่งจำเป็นสำหรับการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีดังต่อไปนี้........1) สมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) ทั้งนี้ก็เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต........2) E-mail Address ส่วนตัว เพื่อใช้ในการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างของ E-mail Address เช่น supanees@nu.ac.th ssengsri@hotmail.com เป็นต้น........3) โปรแกรมที่ใช้ในการรับ-ส่ง E-mail ซึ่งมีด้วยกันหลายโปรแกรมด้วยกัน ลักษณะการใช้งาน E-mail สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ...............3.1) การใช้งานแบบออนไลน์ (Online) ผู้ใช้จะทำการเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาที่ใช้งาน E-mail รวมถึงการเขียนจดหมาย การอ่านจดหมาย การตอบจดหมาย และการส่งจดหมาย ซึ่งก็เท่ากับว่าผู้ใช้จะต้องเสียค่า Usage Time หรือเวลาที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ต ตลอดระยะเวลาของการใช้งาน...............3.2) การใช้งานแบบออฟไลน์ (Offline) ผู้ใช้จะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต ก็ต่อเมื่อต้องการส่งจดหมายออกไป และขณะที่ต้องการรับจดหมายใหม่เท่านั้น ซึ่งในช่วงของการเขียนจดหมาย การอ่านจดหมาย และการตอบจดหมาย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่า Usage Time ได้เป็นอย่างดี วิธีการใช้อีเมล์เป็นเรื่องง่ายและสะดวกรวดเร็วมาก เมื่อนิสิตนักศึกษาจะส่งจดหมายถึง ผู้ใดจะต้องทราบ e-mail address ของผู้นั้นก่อน เช่นเดียวกันนิสิตนักศึกษาต้องมี e-mail address ด้วยเช่นกัน โดยจะใช้บริการของเว็บไซด์ใดก็ได้ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้รับ e-mail address ส่วนตัวทุกคน ตั้งแต่เข้าศึกษาจนกระทั่งจบการศึกษา โดยใช้รหัสประจำตัว เช่น 9465…….@nu.ac.th (e-mail address นี้ จะใช้ได้เฉพาะขณะมีสถานภาพเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเท่านั้น)ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ e-mail โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหลายรายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น http://www.thaimail.com/
http://www.punpimon56.blogspot.com/ http://www.punpimon56.blogspot.com/
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.........จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม 4 ด้าน คือ.......ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา ค้นคว้า.......ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ.......ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคมผลกระทบประการ สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด การตัดสินใจ และประหยัดเวลา........เมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้นบทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา.........การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2542).......1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย........2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม.........3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์........4) ........บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่าย ....พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปโดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนสัมพันธ์หรือเอื้อต่อการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา..........การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจัดว่าเป็นการศึกษาที่สำคัญสูงสุดในการเตรียมนิสิตให้มีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยปัญญา การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบ จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นระดับมหาบัณฑิตทั้งแผน ก และแผน ข หรือระดับดุษฎีบัณฑิตทั้งแบบ 1 และแบบ 2 มีข้อกำหนดให้นิสิตต้องทำการวิจัยที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม โดยอาจทำในรูปวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในลักษณะโครงการวิจัยขนาดเล็ก นอกจากจะวัดจากตัวมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตแล้ว ยังต้องวัดจากคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการของวิทยานิพนธ์หรือรายงาน/โครงการวิจัยที่นิสิตนักศึกษาได้จัดทำตามข้อกำหนดของหลักสูตรด้วย (สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2546)........การที่จะให้นิสิตนักศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาได้นั้น นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้า สร้าง และพัฒนางานวิจัยหรือรายงาน/โครงการวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้และติดตามความ ก้าวหน้าในองค์ความรู้ของต่างประเทศ ดังนั้นนิสิตจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา เช่น การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอภิมหาขุมทรัพย์ทางปัญญาคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์รวมของข้อมูลทุกสาขาจากทั่วทุกมุมโลก และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่สำคัญคือนิสิตจะต้องมีทักษะในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ การวิจัยและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนิสิตจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง........การที่จะให้การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ถูกต้อง รวดเร็ว นิสิตจึงควรรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย และเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง นิสิตจำเป็นต้องมีทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งคือทักษะการนำเสนอ....4.1 การสืบค้นข้อมูลและการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต...........4.1.1 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะข้อมูลที่มีให้บริการอยู่ในระบบ World Wide Web ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หากทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซด์ใด นิสิตนักศึกษาสามารถเปิดเว็บไซด์นั้นได้ทันที เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาสามารถค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้.......................http://www.moe.go.th/ กระทรวงศึกษาธิการ.......................http://www.onec.go.th/ สกศ........................http://www.nu.ac.th/ สำนักหอสมุด/ศูนย์วิทยบริการต่าง ๆ.......................http://www.tiac.or.th/ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย........แต่เนื่องจากข้อมูลในระบบ World Wide Web มีอยู่มากมาย จึงเป็นเรื่องยากที่จะทราบได้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด เครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้นั้น เรียกว่า Search Engine และปัจจุบันนี้ก็มี Search Engines ให้เลือกใช้บริการมากมาย ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น
http://www.thaifind.com/http://www.ixquick.com/http://www.thaiseek.com/http://www.yahoo.com%20/http://www.thaiall.com/http://www.lycos.com/http://www.thainame.net/main.htmlhttp://www.netfind2.aol.com/http://www.sanook.com/http://www.excite.com/http://www.google.com/http://www.altavista.com/http://www.aromdee.com/http://www.freestation.com/........Search Engines ที่ได้รับความนิยมใช้กันมาก ได้แก่ yahoo, AttaVista, Infoseek, Excite และ Sanook เป็นต้น Search Engines เป็นเครื่องมือสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการสืบค้นข้อมูล เพื่อค้นหา สร้าง และพัฒนางานวิจัย รายงาน หรือโครงการวิจัย ดังนั้นนิสิตนักศึกษาบัณฑิตศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ ดังกล่าว..........4.1.2 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทและมีความสำคัญเพิ่มขึ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันทั่วทุกมุมโลกทำได้ง่ายเพียงแค่ ปลายนิ้วสัมผัส นิสิตนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอน เพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิได้อย่างทั่วถึงทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว หรือเพื่อประโยชน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบการวิจัย โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อี-เมล์ (E-mail)อี-เมล์ เป็นบริการหลักที่ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่นิยมกันมากที่สุด เนื่องจากสามารถพิมพ์ข้อความและส่งจดหมายหรือแนบไฟล์ไปพร้อมกับจดหมายผ่านเครือข่ายไปยังบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ห่างไกลถึงคนละซีกโลกได้ภายในวันเวลาเพียงไม่กี่วินาที จากความสะดวก รวดเร็ว ความประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของอี-เมล์ ทำให้มีการประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ คนทั่วโลกรับ-ส่งอีเมล์กันเป็นจำนวนหลายพันล้านฉบับ..........สิ่งจำเป็นสำหรับการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีดังต่อไปนี้........1) สมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) ทั้งนี้ก็เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต........2) E-mail Address ส่วนตัว เพื่อใช้ในการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างของ E-mail Address เช่น supanees@nu.ac.th ssengsri@hotmail.com เป็นต้น........3) โปรแกรมที่ใช้ในการรับ-ส่ง E-mail ซึ่งมีด้วยกันหลายโปรแกรมด้วยกัน ลักษณะการใช้งาน E-mail สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ...............3.1) การใช้งานแบบออนไลน์ (Online) ผู้ใช้จะทำการเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาที่ใช้งาน E-mail รวมถึงการเขียนจดหมาย การอ่านจดหมาย การตอบจดหมาย และการส่งจดหมาย ซึ่งก็เท่ากับว่าผู้ใช้จะต้องเสียค่า Usage Time หรือเวลาที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ต ตลอดระยะเวลาของการใช้งาน...............3.2) การใช้งานแบบออฟไลน์ (Offline) ผู้ใช้จะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต ก็ต่อเมื่อต้องการส่งจดหมายออกไป และขณะที่ต้องการรับจดหมายใหม่เท่านั้น ซึ่งในช่วงของการเขียนจดหมาย การอ่านจดหมาย และการตอบจดหมาย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่า Usage Time ได้เป็นอย่างดี วิธีการใช้อีเมล์เป็นเรื่องง่ายและสะดวกรวดเร็วมาก เมื่อนิสิตนักศึกษาจะส่งจดหมายถึง ผู้ใดจะต้องทราบ e-mail address ของผู้นั้นก่อน เช่นเดียวกันนิสิตนักศึกษาต้องมี e-mail address ด้วยเช่นกัน โดยจะใช้บริการของเว็บไซด์ใดก็ได้ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้รับ e-mail address ส่วนตัวทุกคน ตั้งแต่เข้าศึกษาจนกระทั่งจบการศึกษา โดยใช้รหัสประจำตัว เช่น 9465…….@nu.ac.th (e-mail address นี้ จะใช้ได้เฉพาะขณะมีสถานภาพเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเท่านั้น)ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ e-mail โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหลายรายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น http://www.thaimail.com/
http://www.punpimon56.blogspot.com/ http://www.punpimon56.blogspot.com/